วันพฤหัสบดีที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

วิชา ฐานข้อมูลเบื้องต้น การบ้านบทที่ 4 ประจำวันที่ 24 พ.ย 2553

1.โครงสร้างข้อมูลเชิงสัมพันธ์ประกอบด้วยอะไรบ้าง จงอธิบาย
=       ระบบฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์จะมีส่วนประกอบต่างเพื่อใช้ในการทำงานดังนี้

Field จะเก็บรายละเอียดต่างๆของข้อมูลที่ใช้งาน เช่น ฟิลด์ Name เป็นข้อมูลประเภท Text ในกำหนดประเภทข้องข้อมูลต้องคำนึงถึงว่าจะใช้ในการคำนวณด้วยหรือไม่Record จะประกอบไปด้วยหลายๆฟิลด์จะมีข้อมูลหลากหลายอยู่ในฟิลด์ เช่น ชื่อ ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ อาชีพ เงินเดือน
Table จะเป็นการรวมหลายๆเรคคอร์ด ไว้ในฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์ จะเก็บตารางที่มีความสัมพันธ์กันไว้หลายๆ ตาราง
        - ตารางจะต้องมีชื่อไม่ซ้ำกัน
        - แต่ละฟิลด์จะบรรจุประเภทข้อมูลเพียงชนิดเดียวเท่านั้น
        - ข้อมูลในแต่ละเรคอร์ดจะต้องไม่ซ้ำกัน
คีย์หลัก(Primary key) คีหลัก หรือเรียกว่า PK หมายถึงฟิลด์ที่มีข้อมูลไม่ซ้ำกัน เพราะเป็นเรื่องสำคัญมากในระบบฐานข้อมูล เช่นฟิลด์รหัสลูกค้าจะต้องไม่ซ้ำกันซึ่งจะเป็นข้อมูลประเภท Number ใน 1 ตาราง ควรจะมีคีย์หลักได้เพียง 1 คีย์เท่านั้น และในคีย์หลักต้องไม่เป็นค่าว่าง
คีย์นอก(Foreign Key) คีนอก หรือเรียกว่า FK หมายถึงฟิลด์หรือคอมบิเนชั่น ของตารางหนึ่ง ซึ่งมีความสัมพันธ์กับฟิลด์ในตารางอื่น (ที่เป็นคีย์หลัก PK ) สามารถเชื่อโยงข้อมูลระหว่างกันได้
คีย์ผสม (Composite Key) คือ การนำฟิลด์ตั้งแต่ 2 ฟิลด์ขึ้นไปมารวมกัน เพื่อให้มีคุณสมบัติเป็น Primary Keyเนื่องจากหากใช้ฟิลด์ใดฟิลด์หนึ่งเป็น PK จะส่งผลให้ข้อมูลในแต่ละเรคอร์ดซ้ำซ้อนได้
คีย์คู่แข่ง (Candidates key) คือ ในแต่ละ Relation อาจมี Attribute ที่ทำหน้าที่เป็นคีน์หลักมากกว่าหนึ่ง Attribute โดยเรียก Attribute เหล่านี้ว่า คีย์คู่แข่ง (Candidates key)
2.คุณสมบัติในการจัดเก็บข้อมูลของรีเลชั่นมีอะไรบ้าง
=  -ข้อมูลในแต่ละแถวจะไม่ซ้ำกัน
    -การเรียงลำดับของข้อมูลในแต่ละแถวไม่เป็นสาระสำคัญ
    -การเรียงลำดับของ Attribute จะเรียงลำดับก่อนหลังอย่างไรก็ได้
    -ค่าของข้อมูลในแต่ละ Attribute ของ Tuple หนึ่ง ๆ จะบรรจุค่าได้เพียงค่าเดียว (Single Value)
    -ค่าของข้อมูลในแต่ละ Attribute จะบรรจุค่าของข้อมูลประเภทเดียวกัน
3.รีเลชั่นประกอบด้วยคีย์ประเภทต่าง ๆ อะไรบ้าง จงอธิบายพร้อมยกตัวอย่างประกอบประเภทคีย์ดังกล่าว
= 1.คีย์หลัก (Primary Key) เป็น Attribute ที่มีคุณสมบัติของข้อมูลที่มีค่าเป็นเอกลักษณ์ หรือไม่มีค่าซ้ำกัน
โดยคุณสมบัตินั้นสามารถจะระบุว่าข้อมูลนั้นเป็นของ Tuple ใด
ยกตัวอย่างเช่น รหัสพนักงานของแต่ละคนที่มีรหัสที่ไม่ซ้ำกันซึ่งคีย์หลัก (Primary Key) ที่สามารถบอกชื่อนามสกุลและอื่น ๆที่ เกี่ยวข้องกับพนักงานได้
2.คีย์ผสม (Composite Key) คือ
-การนำฟิลด์ตั้งแต่ 2 ฟิลด์ขึ้นไปมารวมกัน
-เพื่อให้มีคุณสมบัติเป็น Primary Key
-เนื่องจากหากใช้ฟิลด์ใดฟิลด์หนึ่งเป็น PK จะส่งผลให้ข้อมูลในแต่ละเรคอร์ดซ้ำซ้อนได้
ยกตัวอย่างเช่น รหัสลูกค้ากับรายการสั่งซื้อสินค้า
3.คีย์คู่แข่ง (Candidates key) คือ ในแต่ละ Relation อาจมี Attribute ที่ทำหน้าที่เป็นคีน์หลักมากกว่าหนึ่ง Attribute โดยเรียก Attribute เหล่านี้ว่า คีย์คู่แข่ง (Candidates key)
ยกตัวอย่างเช่น นักศึกษาแต่ละคน มี
-รหัสประจำตัวนักศึกษา
-รหัสประจำตัวประชาชน
โดยปกติแล้วจะเลือก Candidates key ที่สั้นที่สุดเป็น Primary Key
โดยเราจะเรียก Candidates key ที่ถูกเลือกมาใช้เป็นคีย์หลักในตารางว่า “Primary Key” และเรียก Candidates key ที่ไม่ถูกเลือกเป็นคีย์หลักว่า “คีย์สำรอง (Alternate Key)
Candidates key สามารถเป็น Primary Key และ  Alternate Key ได้
4.คีย์นอก(Foreign Key)
         คือคีย์ซึ่งประกอบด้วยแอตทริบิวต์หรือกลุ่มของแอตทริบิวต์ในรีเลชั่นหนึ่งซึ่งมีคุณสมบัติเป็นคีย์หลัก และปรากฏอีกรีเลชั่นหนึ่ง เพื่อระโยชน์ในการเชื่อมโยงข้อมูลซึ่งกันและกัน
-เป็น Key ที่ใช้ในการเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างตารางเข้าด้วยกัน
ยกตัวอย่างเช่น ฐานข้อมูลของธนาคารแห่งหนึ่งประกอบด้วย 2 ตารารง คือ
-ตารางที่ลูกค้าเปิด (เลขประจำตัวลูกค้า, ชื่อ-นามสกุลและประเภทของบัญชี)
-ตารางลูกค้า (เลขประจำตัวลูกค้ , ชื่อ-นามสกุล และที่อยู่)
หากต้องการทราบว่าลูกค้ารายหนึ่งเปิดบัญชีใดบ้าง ก็เชื่อมโยงข้อมูล 2 ตารงเข้าด้วยกัน โดยใช้เลขประจำตัวลูกค้าเป็น Foreign Key
4. Null หมายถึงอะไรใน Relational Database
           = Null เป็นศัพท์เฉพาะใน Relational Database หมายถึง ไม่ทราบค่าข้อมูลที่รู้แน่ชัด เราสามารถกำหนดให้ค่าคอลัมน์ใด ๆ เป็น Null ได้ (ถ้าเป็นไปได้ควรใส่ให้ครบจะดีที่สุด) ยกเว้นคอลัมน์ที่เป็น Primary Key เพราะจะไม่สามารถนำ Primary Key มาใช้เข้าถึงข้อมูลในแต่ละแถวได้
5.เหตุใดจึงต้องมีการทำ Integrity rule มาใช้ในฐานข้อมูล
= เพราะ ฐานข้อมูลไม่สามารถรู้ได้เองว่าข้อมูลที่เก็บอยู่นั้นสอดคล้องกับความเป็นจริงหรือไม่ เราจึงต้องบอกให้ฐานข้อมูลรู้ด้วยสิ่งที่รียกว่า กฎการควบคุมความถูกต้องของข้อมูล หรือ Data Integrity
ตัวอย่างงานระบบงานทะเบียนนักศึกษาจะมี Integrity rule ดังต่อไปนี้
-นักศึกษาทุกคนต้องสังกัดคณะที่มีอยู่เท่านั้น
-วิชาที่ลงทะเบียนต้องเป็นวิชาที่เปิดสอนเท่านั้น
-เกรดเฉลี่ยแต่ละเทอมจะอยู่ระหว่าง 0.00-4.00 เท่านั้น
-เกรดที่จะได้จะต้องเป็น A,B+,B.C,C+.D+,Dหรือ F เท่านั้น เป็นต้น
6.ความสัมพันธ์ระหว่างรีเลชั่นมีกี่ประเภท อะไรบ้าง จงยกตัวอย่างประกอบ (ห้ามยกตัวอย่างซ้ำกับสไลด์ประกอบการเรียน)
= ความสัมพันธ์ระหว่างรีเลชั่นมี 3 ประเภท คือ
1.ความสัมพันธ์แบบหนึ่งต่อหนึ่ง (One to One Relationship)
-เป็นความสัมพันธ์ที่เข้าใจง่ายที่สุด
-เป็นความสัมพันธ์ของข้อมูลใน 1 เรคอร์ดในตารางหนึ่งมีความสัมพันธ์กับข้อมูลอย่างมากหนึ่งข้อมูลกับอีกเรคอร์ดในอีกตารางหนึ่งเท่านั้นในลักษณะที่เป็นหนึ่งต่อหนึ่ง
ยกตัวอย่างเช่น คนหนึ่งคนสามารถมีกรุ๊ปเลือดได้เพียงหนึ่งกรุ๊ปเลือดเท่านั้น

2.ความสัมพันธ์แบบหนึ่งต่อกลุ่ม (One to Many Relationship)
-เป็นความสัมพันธ์ที่พบบ่อยที่สุดในฐานข้อมูล
-เป็นความสัมพันธ์ของข้อมูลใน 1 เรคอร์ดในตารางหนึ่งมีความสัมพันธ์กับข้อมูลมากกว่าหนึ่งข้อมูลกับอีกเรคอร์ดในอีกตารางหนึ่งเท่านั้นในลักษณะที่เป็นหนึ่งต่อหนึ่ง
ยกตัวอย่างเช่น คนหนึ่งสามารถมีบัตร ATM ได้หลาย ๆ ธนาคาร

3.ความสัมพันธ์แบบกลุ่มต่อกลุ่ม (Many to Many Relationship)
-เป็นความสัมพันธ์ที่พบไม่บ่อยนัก
-เป็นความสัมพันธ์ของข้อมูลในเรคอร์ดใด ๆ ของตารางหนึ่งมีค่าตรงกับข้อมูลของหลาย ๆ เรคอร์ดในตารางอื่น ๆ
ยกตัวอย่างเช่น บาร์โคดหนึ่งอันสามารถกำหนดตัวเลขได้หลาย ๆ แบบ




วันพฤหัสบดีที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

วิชา ฐานข้อมูลเบื้องต้น การบ้านบทที่ 2-3 ประจำวันที่ 17 พ.ย 2553

1.การแบ่งสถาปัตยกรรมของฐานข้อมูลออกเป็น 3 ระดับ มีไว้เพื่อวัตถุประสงค์ใดเป็นสำคัญ
-เพื่อให้การดึงข้อมูลจากฐานข้อมูลได้รวดเร็วและมีประสิทธิภาพจำเป็นต้องออกแบบเทคนิคการจัดเก็บข้อมูลด้วยโครงสร้างที่ซับซ้อน เนื่องจากผู้ใช้งานทั่วไปไม่ใช่ผู้ที่ฝึกฝนมาทางคอมพิวเตอร์ ดั้งนั้นจึงควรซ่อนรายการละเอียดความซับซ้อนดังกล่าวเพื่อทำให้การติดต่อใช้งานง่ายและสะดวกขึ้น
-ระบบฐานข้อมูลต้องทำให้ผู้ใช้งานแต่ละคนมองเห็นข้อมูลในระดับที่ตนต้องการ กล่าวคือ ระดับจัดการฐานข้อมูลจะซ่อนรายละเอียดเกี่ยวกับการจัดการข้อมูลในระดับกายภาพ (โครงสร้างของฐานข้อมูล)
2.ความเป็นอิสระของฐานข้อมูลมีบทบาทสำคัญอย่างไรต่อการจัดการฐานข้อมูล จงอธิบาย
-เนื่องจากในระบบแฟ้มข้อมูล เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางกายภาพของแฟ้มข้อมูลใด จะต้องมีการเปลี่ยนแปลงโปรแกรมต่าง ๆ ที่เรียกใช้ข้อมูลในแฟ้มข้อมูลนั้นด้วย
-เช่น เปลี่ยนแฟ้มข้อมูลพนักงาน จากเดิมเรียงลำดับตามชื่อมาเป็นตามรหัสพนักงานแทน ทำให้ต้องมีการแก้ไขโปรแกรมตามโครงสร้างทีเปลี่ยนแปลงไป ซึ่งการที่ข้อมูลและโปรแกรมไม่ป็นอิสระต่อกันนี้ เรียกว่า “Data Dependence”
3.ปัญหาที่สำคัญของ Hierarchical Model คืออะไร และเหตุใด Hierarchical Model จึงไม่สามารถลดความซ้ำซ้อนของข้อมูลได้ทั้งหมด
= ปัญหาที่สำคัญของ Hierarchical Model คือ มีโอกาสเกิดความซ้ำซ้อนของข้อมูลมากที่สุดเมื่อเปรียบเทียบกับระบบฐานข้อมูลแบบโครงสร้าง และเหตุ Hierarchical Model ไม่สามารถลดความซ้ำซ้อนของข้อมูลได้ทั้งหมดเป็นเพราะหากข้อมูลมีจำนวนมาก การเข้าถึงข้อมูลจะใช้เวลานานในการค้นหา เนื่องจากจะต้องเข้าถึงจุดกำเนิดของข้อมูลและต้องค้นหาข้อมูลแบบมีเงื่อนไขเป็นลำดับและออกแบบเรียงลำดับต่อเนื่อง
4.เหตุใด Network Model ซึ่งสามารถแก้ปัญหาความซ้ำซ้อนของข้อมูลได้จึงไม่เหมาะกับการนำมาใช้งาน
= เนื่องจาก
-ความสัมพันธ์ข้อมูลที่เชื่อมโยงกันทำให้ยากต่อการใช้งาน
-ผู้ใช้ต้องเข้าใจโครงสร้างของฐานข้อมูล
-เหมาะสำหรับโปรแกรมเมอร์ที่คุ้นเคย ไม่เหมาะสำหรับผู้ใช้งานทั่วไป
-มีค่าใช้จ่ายและสิ้นเปลืองพื้นที่หน่วยความจำ
-โครงสร้างแบบเครือข่ายเป็นโครงสร้างที่ง่ายไม่ซับซ้อนเนื่องจากไม่ต้องอ่านแฟ้มข้อมูลที่เป็นต้นกำเนิดก่อน จึงทำให้ป้องกันความลับของข้อมูลได้ยาก
5.สิ่งที่ทำให้ Relational Model ได้รับความนิยมอย่างมากคืออะไร จงอธิบาย
= สิ่งที่ทำให้ Relational Model ได้รับความนิยมอย่างมากคือ
-เหมาะกับงานที่เลือกดูข้อมูลแบบมีเงื่อนไขหลายคีย์ฟิลด์ข้อมูล
-ป้องกันข้อมูลถูกทำลายหรือแก้ไขได้ดี เนื่องจากโครงสร้างแบบสัมพันธ์นี้ผู้ใช้จะไม่ทราบว่าการเก็บข้อมูลในฐานข้อมูลอย่างแท้จริงเป็นอย่างไร จึงสามารถป้องกันข้อมูลถูกทำลายหรือถูกแก้ไขได้
-การเลือกดูข้อมูลทำได้ง่าย มีความซับซ้อนของข้อมูลระหว่างแฟ้มต่าง ๆ น้อยมาก อาจมีการฝึกฝนเพียงเล็กน้อยก็สามารถใช้ทำงานได้วิธีเปรียบเทียบค่าของข้อมูลแทน โดยไม่ต้องรู้ว่าข้อมูลนั้นเก็บอย่างไร โดยแค่บอกกับ DBMS ว่าต้องการข้อมูลจากตารางใด ที่มีค่าในคอลัมน์ใด เป็นต้น
-ง่ายในการทำความเข้าใจ

วันพฤหัสบดีที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

วิชา การจัดระบบเครือข่ายและการสื่อสารข้อมูลธุรกิจด้วยคอมพิวเตอร์ การบ้านบทที่ 1 ประจำวันที่ 10 พ.ย 2553 ตอนเรียน A1 ห้อง BC.1


1.คำศัพท์ Network (5 คะแนน)
ให้นักศึกษาหาคำศัพท์เกี่ยวกับระบบเครือข่ายอุปกรณ์ต่าง ๆ การสื่อสารข้อมูล โดยแปลความคำศัพท์ในรูปแบบ English- English และ English-ไทย คนละ 2 คำไม่ซ้ำกันทั้งห้อง โดยจัดทำเป็นรายการคำศัพท์พร้อมชื่อผู้ทำไว้ที่หัวหน้าห้องและเตรียมนำเสนอในสัปดาห์หน้า (ถ้าคำศัพท์คำนั้นมีรูปภาพก็ใส่รูปมาด้วยให้ปลิ้นหรือตัดแปะก็ได้


1.1   ETHERNET
ETHERNET=Standard cable. And wiring. The relationship with the communications network. The unit speed is 10 mbps, 100 mbps etc.
 ETHERNETหมายถึง มาตรฐานของสายเคเบิล และการเดินสาย โดยมีความสัมพันธ์กับระบบสื่อสารของเครือข่าย โดยมีหน่วยความเร็วเป็น 10 mbps, 100 mbps เป็นต้น
1.2 .Peer - to Peer networking

Peer - to Peer networking =System is a computer worm any computer workstation on a networking system that is as equally. All machines can be used for files on other machines and other machines can use their files as well Peer To Peer Systems is working with the Distributed System Resources are distributed. To reverse the other station. But the problem of security because the information is confidential. Are exported to a worksheet, but also other Nation program that is capable of Peer To Peer, and is known as Windows for Workgroup and Personal Network.
Peer - to Peer networking หมายถึง เครือข่ายแบบเท่าเทียม เป็นระบบที่เครื่องเวิร์กสเตชั่นทุกเครื่องบนระบบเน็ทเวิร์กที่มีฐานะเท่าเทียมกันคือ ทุกเครื่องสามารถที่จะใช้ไฟล์ในเครื่องอื่นๆ ได้ และสามารถให้เครื่องอื่นมาใช้ไฟล์ของตนได้เช่นกัน ระบบ Peer To Peer มีการทำงานแบบ Distributed System โดยจะกระจายทรัพยากรต่างๆ ไปสู่เวิร์สเตชั้นอื่นๆ แต่จะมีปัญหาเรื่องการรักษาความปลอดภัยเพราะข้อมูลที่เป็นความลับ ถูกส่งออกไปสู่เวิร์กสเตชั่นอื่นๆ เช่นกัน โปรแกรมที่มีความสามารถทาง Peer To Peer และเป็นที่รู้จักกันคือ Windows for Workgroup และ Personal Network
2.ไปหาข้อมูล คำว่า Skype คือโปรแกรมอะไร
Skype คือ โปรแกรม Instance Messenger ที่สามารถทำงานบนคอมพิวเตอร์ทั้งระบบปฏิบัติการ Window Macintosh Linux และ Window pocket PC เพื่อให้สามารถติดต่อสื่อสารทั่วโลกผ่านทางเสียงที่มีคุณภาพ (Voice) ข้อความ (Chat) ข้อความด่วน (Instant Message) และใช้ส่งไฟล์แบบเรียลไทม์ (Real Time Send File) ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
  Skype (สไคป์) คือ โปรแกรมที่ใช้ติดต่อสื่อสารกันระหว่างผ่านอินเทอร์เน็ตด้วยข้อความพร้อมเสียงและภาพจากกล้อง Webcam โดยจะเป็นการสื่อสารกันแบบ Real Time ลักษณะจะคล้าย Windows Live Messenger หรือที่เราเรียก MSN แต่จะมีข้อดีเหนือกว่ามากในเรื่องของคุณภาพของภาพ และเสียง ซึ่ง Skype จะให้สัญญาณที่คมชัดกว่าอย่างเห็นได้ชัด โดยส่วนใหญ่แล้ว Skype จะนำมาใช้ทำ Video Conference เพื่อสนทนากันแบบตัวต่อตัว หรือประชุมสายพร้อมกันหลายคนผ่านอิน เทอร์เน็ตได้ทั่วโลก โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ เพียงคุณมีสัญญาณอินเทอร์เน็ตอยู่แล้ว การเชื่อมต่อจะเป็นแบบ peer-to-peer voice over Internet protocol (VoIP) จุดเด่นของ Skype คือ การใช้งานเป็นโทรศัพท์ ที่โทรติดต่อผู้อื่นที่ไม่ได้ใช้ Skype ซึ่งโทรไปได้ทั้งเบอร์มือถือ และ เบอร์พื้นฐานทั่วไปได้ทั่วโลก โดยเสียค่าใช้จ่ายเป็นแบบเหมาจ่าย เป็นเดือน ประมาณ 300 บาท ซึ่งถือว่าถูกมากๆ โทรไปได้ทุกเครือข่าย

            นอกจากนี้ Skype ยังสามารถช่วยให้ผู้ใช้บริการสามารถทำการรับสายโทรเข้าจากโทรศัพท์พื้นฐาน (SkypeIn) เข้ามายัง Skype และสามารถใช้ Skype โทรศัพท์ออกไปยังโทรศัพท์พื้นฐานทั่วโลก (SkypeOut)Skype ถูกพัฒนาโดยบริษัท Skype Technology ประเทศลักเซมเบิร์ก ในทวีปยุโรป แต่ปัจจุบันได้ขายให้กับ eBay ด้วยมูลค่าเงินสดถึง 2.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณหนึ่งแสนล้านบาท เมื่อปลายปี 2548 เพื่อหวังใช้อินเทอร์เน็ตโฟนเพิ่มความสามารถในการติดต่อสื่อสารระหว่างผู้ซื้อกับผู้ขายบนตลาดออนไลน์ให้สะดวกมากยิ่งขึ้น

Technology
Skype ทำงานอยู่บนเทคโนโลยีระบบเครือข่ายแบบ PeertoPeer ซึ่งผู้ใช้งานจะมีการติดต่อโดยตรงระหว่างผู้ใช้งานกับผู้ใช้งานอื่นที่กำลังออนไลน์อยู่ ในขณะนั้น โดยไม่มีการผ่าน Server ของผู้ให้บริการคุณภาพของการสื่อสารด้วยเสียงจึงไม่ถูกลดทอนลงไปด้วยเส้นทางของการสื่อสาร 

3. Topology คืออะไร มีรูปแบบอะไรบ้าง
Topology
โทโปโลยีคือลักษณะทางกายภาพ (ภายนอก) ของระบบเครือข่าย ซึ่งหมายถึง ลักษณะของการเชื่อมโยงสายสื่อสารเข้ากับอุปกรณ์ อิเล็กทรอนิกส์และเครื่องคอมพิวเตอร์ ภายในเครือข่ายด้วยกันนั่นเอง โทโปโลยีของเครือข่าย LAN แต่ละแบบมีความเหมาะสมในการใช้งาน แตกต่างกันออกไป การนำไปใช้จึงมีความจำเป็นที่เราจะต้องทำการศึกษาลักษณะและคุณสมบัติ ข้อดีและข้อเสียของโทโปโลยีแต่ละแบบ เพื่อนำไปใช้ในการออกแบบพิจารณาเครือข่าย ให้เหมาะสมกับการใช้งาน รูปแบบของโทโปโลยี ของเครือข่ายหลัก ๆ มีดังต่อไปนี้




1.โทโปโลยีแบบบัส (BUS)
             เป็นรูปแบบที่ เครื่องคอมพิวเตอร์จะถูกเชื่อมต่อกันโดยผ่ายสายสัญญาณแกนหลัก ที่เรียกว่า BUS หรือ แบ็คโบน (Backbone) คือ สายรับส่งสัญญาณข้อมูลหลัก ใช้เป็นทางเดินข้อมูลของทุกเครื่องภายในระบบเครือข่าย และจะมีสายแยกย่อยออกไปในแต่ละจุด เพื่อเชื่อมต่อเข้ากับคอมพิวเตอร์เครื่องอื่น ๆ ซึ่งเรียกว่าโหนด (Node) ข้อมูลจากโหนดผู้ส่งจะถูกส่งเข้าสู่สายบัสในรูปของแพ็กเกจ ซึ่งแต่ละแพ็กเกจจะประกอบไปด้วยข้อมูลของผู้ส่ง, ผู้รับ และข้อมูลที่จะส่ง การสื่อสารภายในสายบัสจะเป็นแบบ 2 ทิศทางแยกไปยังปลายทั้ง 2 ด้านของ บัส โดยตรงปลายทั้ง 2 ด้านของบัส จะมีเทอร์มิเนเตอร์ (Terminator) ทำหน้าที่ลบล้างสัญญาณที่ส่งมาถึง เพื่อป้องกันไม่ให้สัญญาณข้อมูลนั้นสะท้อนกลับ เข้ามายังบัสอีก เพื่อเป็นการป้องกันการชนกันของข้อมูลอื่น ๆ ที่เดินทางอยู่บนบัสในขณะนั้น
สัญญาณข้อมูลจากโหนดผู้ส่งเมื่อเข้าสู่บัส ข้อมูลจะไหลผ่านไปยังปลายทั้ง 2 ด้านของบัส แต่ละโหนดที่เชื่อมต่อเข้ากับบัส จะคอยตรวจดูว่า ตำแหน่งปลายทางที่มากับแพ็กเกจข้อมูลนั้นตรงกับตำแหน่งของตนหรือไม่ ถ้าตรง ก็จะรับข้อมูลนั้นเข้ามาสู่โหนด ตน แต่ถ้าไม่ใช่ ก็จะปล่อยให้สัญญาณข้อมูลนั้นผ่านไป จะเห็นว่าทุก ๆ โหนดภายในเครือข่ายแบบ BUS นั้นสามารถรับรู้สัญญาณข้อมูลได้ แต่จะมีเพียงโหนดปลายทางเพียงโหนดเดียวเท่านั้นที่จะรับข้อมูลนั้นไปได้
ข้อดี
      - ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการวางสายสัญญาณมากนัก สามารถขยายระบบได้ง่าย เสียค่าใช้จ่ายน้อย ซึ่งถือว่าระบบบัสนี้เป็นแบบโทโปโลยีที่ได้รับความนิยมใช้กันมากที่สุดมา ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน เหตุผลอย่างหนึ่งก็คือสามารถติดตั้งระบบ ดูแลรักษา และติดตั้งอุปกรณ์เพิ่มเติมได้ง่าย ไม่ต้องใช้เทคนิคที่ยุ่งยากซับซ้อนมากนัก
ข้อเสีย
      - อาจเกิดข้อผิดพลาดง่าย เนื่องจากทุกเครื่องคอมพิวเตอร์ ต่อยู่บนสายสัญญาณเพียงเส้นเดียว ดังนั้นหากมี สัญญาณขาดที่ตำแหน่งใดตำแหน่งหนึ่ง ก็จะทำให้เครื่องบางเครื่อง หรือทั้งหมดในระบบไม่สามารถใช้งานได้ตามไปด้วย
      - การตรวจหาโหนดเสีย ทำได้ยาก เนื่องจากขณะใดขณะหนึ่ง จะมีคอมพิวเตอร์เพียงเครื่องเดียวเท่านั้น ที่สามารถส่งข้อความ ออกมาบนสายสัญญาณ ดังนั้นถ้ามีเครื่องคอมพิวเตอร์จำนวนมากๆ อาจทำให้เกิดการคับคั่งของเน็ตเวิร์ค ซึ่งจะทำให้ระบบช้าลงได้


2.โทโปโลยีแบบวงแหวน (RING)
             เป็นรูปแบบที่ เครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องในระบบเครือข่าย ทั้งเครื่องที่เป็นผู้ให้บริการ( Server) และ เครื่องที่เป็นผู้ขอใช้บริการ(Client) ทุกเครื่องถูกเชื่อมต่อกันเป็นวงกลม ข้อมูลข่าวสารที่ส่งระหว่างกัน จะไหลวนอยู่ในเครือข่ายไปใน ทิศทางเดียวกัน โดยไม่มีจุดปลายหรือเทอร์มิเนเตอร์เช่นเดียวกับเครือข่ายแบบ BUS ในแต่ละโหนดหรือแต่ละเครื่อง จะมีรีพีตเตอร์ (Repeater) ประจำแต่ละเครื่อง 1 ตัว ซึ่งจะทำหน้าที่เพิ่มเติมข้อมูลที่จำเป็นต่อการติดต่อสื่อสารเข้าในส่วนหัวของแพ็กเกจที่ส่ง และตรวจสอบข้อมูลจากส่วนหัวของ Packet ที่ส่งมาถึง ว่าเป็นข้อมูลของตนหรือไม่ แต่ถ้าไม่ใช่ก็จะปล่อยข้อมูลนั้นไปยัง Repeater ของเครื่องถัดไป
ข้อดี
      - ผู้ส่งสามารถส่งข้อมูลไปยังผู้รับได้หลาย ๆ เครื่องพร้อม ๆ กัน โดยกำหนดตำแหน่งปลายทางเหล่านั้นลงในส่วนหัวของแพ็กเกจข้อมูล Repeaterของแต่ละเครื่องจะทำการตรวจสอบเองว่า ข้อมูลที่ส่งมาให้นั้น เป็นตนเองหรือไม่
     - การส่งผ่านข้อมูลในเครือข่ายแบบ RING จะเป็นไปในทิศทางเดียวจากเครื่องสู่เครื่อง จึงไม่มีการชนกันของสัญญาณ ข้อมูลที่ส่งออกไป
      - คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องในเน็ตเวิร์กมีโอกาสที่จะส่งข้อมูลได้อย่างทัดเทียมกัน
ข้อเสีย
     - ถ้ามีเครื่องใดเครื่องหนึ่งในเครือข่ายเสียหาย ข้อมูลจะไม่สามารถส่งผ่านไปยังเครื่องต่อ ๆ ไปได้ และจะทำให้เครือข่ายทั้งเครือข่าย หยุดชะงักได้
      - ขณะที่ข้อมูลถูกส่งผ่านแต่ละเครื่อง เวลาส่วนหนึ่งจะสูญเสียไปกับการที่ทุก ๆ Repeater จะต้องทำการตรวจสอบตำแหน่งปลายทางของข้อมูลนั้น ๆ ทุก ข้อมูลที่ส่งผ่านมาถึง


3.โทโปโลยีแบบดาว (STAR)
            เป็นรูปแบบที่ เครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องที่เชื่อมต่อเข้าด้วยกันในเครือข่าย จะต้องเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ตัวกลางตัวหนึ่งที่เรียกว่า ฮับ (HUB) หรือเครื่อง ๆ หนึ่ง ซึ่งทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางของการเชื่อมต่อสายสัญญาญที่มาจากเครื่องต่าง ๆ ในเครือข่าย และควบคุมเส้นทางการสื่อสาร ทั้งหมด เมื่อมีเครื่องที่ต้องการส่งข้อมูลไปยังเครื่องอื่น ๆ ที่ต้องการในเครือข่าย เครื่องนั้นก็จะต้องส่งข้อมูลมายัง HUB หรือเครื่องศูนย์กลางก่อน แล้ว HUB ก็จะทำหน้าที่กระจายข้อมูลนั้นไปในเครือข่ายต่อไป
ข้อดี
      - การติดตั้งเครือข่ายและการดูแลรักษาทำ ได้ง่าย หากมีเครื่องใดเกิดความเสียหาย ก็สามารถตรวจสอบได้ง่าย และศูนย์กลางสามารถตัดเครื่องที่เสียหายนั้นออกจากการสื่อสาร ในเครือข่ายได้เลย โดยไม่มีผลกระทบกับระบบเครือข่าย
ข้อเสีย
     - เสียค่าใช้จ่ายมาก ทั้งในด้านของเครื่องที่จะใช้เป็น เครื่องศูนย์กลาง หรือตัว HUB เอง และค่าใช้จ่ายในการติดตั้งสายเคเบิลในเครื่องอื่น ๆ ทุกเครื่อง การขยายระบบให้ใหญ่ขึ้นทำได้ยาก เพราะการขยายแต่ละครั้ง จะต้องเกี่ยวเนื่องกับเครื่องอื่นๆ ทั้งระบบ

 4.โทโปโลยีแบบ Hybrid
                เป็นรูปแบบใหม่ ที่เกิดจากการผสมผสานกันของโทโปโลยีแบบ STAR , BUS , RING เข้าด้วยกัน เพื่อเป็นการลดข้อเสียของรูปแบบที่กล่าวมา และเพิ่มข้อดี ขึ้นมา มักจะนำมาใช้กับระบบ WAN (Wide Area Network) มาก ซึ่งการเชื่อมต่อกันของแต่ละรูปแบบนั้น ต้องใช้ตัวเชื่อมสัญญาญเข้ามาเป็นตัวเชื่อม ตัวนั้นก็คือ Router เป็นตัวเชื่อมการติดต่อกัน
5.โทโปโลยีแบบ MESH
             เป็นรูปแบบที่ถือว่า สามารถป้องกันการผิดพลาดที่อาจจะเกิดขึ้นกับระบบได้ดีที่สุด เป็นรูปแบบที่ใช้วิธีการเดินสายของแต่เครื่อง ไปเชื่อมการติดต่อกับทุกเครื่องในระบบเครือข่าย คือเครื่องทุกเครื่องในระบบเครือข่ายนี้ ต้องมีสายไปเชื่อมกับทุก ๆ เครื่อง ระบบนี้ยากต่อการเดินสายและมีราคาแพง จึงไม่ค่อยมีผู้นิยมมากนัก
4. ให้หาข้อมูลเกี่ยวกับอุปกรณ์เครือข่ายคนละ 1 ชิ้นว่าคืออะไร ทำงานอย่างไร
  Gateway
Gateway คือ อุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ที่เชื่อมต่อเครือข่ายต่างประเภทเข้าด้วยกัน เช่น การใช้เกตเวย์ในการเชื่อมต่อเครือข่าย ที่เป็นคอมพิวเตอร์ประเภทพีซี  (PC) เข้ากับคอมพิวเตอร์ประเภทแมคอินทอช (MAC) เป็นต้น และเป็นประตูสื่อสารช่องทางสำหรับเชื่อมต่อข่ายงานคอมพิวเตอร์ที่ต่างชนิดกันให้สามารถติดต่อสื่อสารกันได้ โดยทำให้ผู้ใช้บริการของคอมพิวเตอร์หนึ่งหรือในข่ายงานหนึ่งสามารถติดต่อเข้าสู่เครื่องบริการหรือข่ายงานที่ต่างประเภทกันได้ ทั้งนี้โดยการใช้อุปกรณ์ที่เรียกว่า "บริดจ์" (bridges) โดยโปรแกรมคอมพิวเตอร์จะทำให้การแปลข้อมูลที่จำเป็นให้ นอกจากในด้านของข่ายงาน เกตเวย์ยังเป็นอุปกรณ์ในการเชื่อมต่อข่ายงานบริเวณเฉพาะที่ (LAN) สองข่ายงานที่มีลักษณะ ไม่เหมือนกันให้สามารถเชื่อมต่อกันได้ หรือจะเป็นการเชื่อมต่อข่ายงานบริเวณเฉพาะที่เข้ากับข่ายงานบริเวณกว้าง (WAN) หรือต่อเข้ากับมินิคอมพิวเตอร์หรือต่อเข้ากับเมนเฟรมคอมพิวเตอร์ก็ได้เช่นกัน ทั้งนี้เนื่องจากเกตเวย์มีไมโครโพรเซสเซอร์และหน่วยความจำของตนเอง
            การทำงาน เกตเวย์ ทำหน้าที่เชื่อมต่อเครือข่ายต่าง ๆ เข้าด้วยกัน ไม่ว่าเครือข่ายนั้นจะใช้โปรโตคอลตัวใดก็ตามเนื่องจากว่า Gateway สามารถแปลงรูปแบบเพ็กเกตของโปรโตคอลหนึ่งไปเป็นรูปแบบของอีกโปรโตคอลหนึ่ง เพื่อให้เหมาะสมกับการใช้งานในเครือข่ายได้ เช่น แปลงรูปแบบเพ็กเกตของ TCP/IP ไปเป็น Apple Talk เป็นต้น ทำให้สามารถเชื่อมต่อกับเครือข่ายอื่น ๆ ได้อย่างไม่มีข้อจำกัดแต่ในปัจจุบันนี้ได้รวมการทำงานของ Gateway ไว้ใน Router แล้ว ทำให้ Router สามารถทำงานเป็น Gateway ได้จึงไม่จำเป็นต้องซื้ออุปกรณ์ตัวนี้อีกแล้ว
            

5.ให้หาข้อมูลเกี่ยวกับมาตรฐานเครือข่ายของ IEEE 802.3,.5 และ.11 A,B,G,N
IEEE 802.3
IEEE 802.3 หรือ อีเทอร์เน็ต (Ethernet) เป็นเครือข่ายที่มีความเร็วสูงการส่งข้อมูล 10 เมกะบิตต่อวินาที สถานีในเครือข่ายอาจมีโทโปโลยีแบบัสหรือแบบดาว IEEE ได้กำหนดมาตรฐานอีเทอร์เน็ตซึ่งทำงานที่ความเร็ว 10 เมกะบิตต่อวินาทีไว้หลายประเภทตามชนิดสายสัญญาณเช่น
• 10Base5 อีเทอร์เน็ตโทโปโลยีแบบบัสซึ่งใช้สายโคแอกเชียลแบบหนา (Thick Ethernet) ความยาวของสายในเซกเมนต์หนึ่ง ๆ ไม่เกิน 500 เมตร
• 10Base2 อีเทอร์เน็ตโทโปโลยีแบบบัสซึ่งใช้สายโคแอ๊กเชียลแบบบาง (Thin Ethernet) ความยาวของสายในเซกเมนต์หนึ่ง ๆ ไม่เกิน 185 เมตร
• 10BaseT อีเทอร์เน็ตโทโปโลยีแบบดาวซึ่งใช้ฮับเป็นศูนย์กลาง สถานีและฮับเชื่อมด้วยสายยูทีพี (Unshield Twisted Pair) ด้วยความยาวไม่เกิน 100 เมตร
          IEEE 802.5
            IEEE 802.5 หรือ โทเคนริง (Token Ring) หรือมักเรียกว่าไอบีเอ็มโทเคนริงจัดเป็นเครือข่ายที่ใช้โทโปโลยีแบบวงแหวนด้วยสายคู่ตีเกลียวหรือเส้นใยนำแสง อัตราการส่งข้อมูลของโทเค็นริงที่ใช้โดยทั่วไปคือ 4 และ 6 เมกะบิตต่อวินาที
 การทำงานของโทเค็นริง จะมีเฟรมพิเศษเรียกว่า โทเค็นว่าง (free token) วิ่งวนอยู่ สถานีที่ต้องการส่งข้อมูลจะรอให้โทเค็นว่างเดินทางมาถึงแล้วรับโทเค็นว่างมาเปลี่ยนเป็น เฟรมข้อมูล (data frame) โดยใส่แฟล็กแสดงเฟรมข้อมูลและบรรจุแอดเดรสของสถานีต้นทางและปลายทางตลอดจนข้อมูลอื่นๆจากนั้นสถานีจึงปล่อยเฟรมนี้ออกไป
เมื่อสถานีปลายทางได้รับเฟรมจะสำเนาข้อมูลไว้และปล่อยเฟรมให้วนกลับมายังสถานีส่ง สถานีส่งจะตรวจสอบเฟรมและปล่อยโทเค็นว่างคืนสู่เครือข่ายให้สถานีอื่นมีโอกาสส่งข้อมูลต่อไป กลไกลแบบส่งผ่านโทเค็นจัดอยู่ในประเภทประเมินเวลาได้ กล่าวคือ สามารถคำนวณเวลาสูงสุดที่สถานีมีสิทธิ์จับโทเค็นเพื่อส่งข้อมูลได้ โทเค็นริงจึงเหมาะกับระบบที่ต้องการความแน่นอนทางเวลาหรืองานแบบเวลาจริง
           มาตรฐาน IEEE 802.11
            ในยุคเริ่มแรกนั้นให้ประสิทธิภาพการทำงาน ที่ค่อนข้างต่ำ ทั้งไม่มีการรับรองคุณภาพของการให้บริการที่เรียกว่า QoS (Quality of Service) ซึ่งมีความสำคัญในสภาพแวดล้อมที่มีแอพพลิเคชันหลากหลายประเภทให้ใช้งาน นอกจากนั้นกลไกในเรื่องการรักษาความปลอดภัย ที่นำมาใช้ก็ยังมีช่องโหว่จำนวนมาก IEEE จึงได้จัดตั้งคณะทำงาน ขึ้นมาหลายชุดด้วยกัน เพื่อทำการพัฒนาและปรับปรุงมาตรฐานให้มีศักยภาพเพิ่มสูงขึ้น
IEEE 802.11a
เป็นมาตรฐานที่ได้รับการตีพิมพ์และเผยแพร่เมื่อปี พ.ศ. 2542 โดยใช้เทคโนโลยี OFDM (OrthogonalFrequency Division Multiplexing) เพื่อพัฒนาให้ผลิตภัณฑ์ ไร้สายมีความสามารถ ในการรับส่งข้อมูลด้วยอัตราความเร็วสูงสุด 54 เมกะบิตต่อวินาที โดยใช้คลื่นวิทยุย่านความถี่ 5 กิกะเฮิรตซ์ ซึ่งเป็นย่านความถี่ที่ไม่ได้รับอนุญาต ให้ใช้งานโดยทั่วไปในประเทศไทย เนื่องจากสงวนไว้สำหรับ กิจการทางด้านดาวเทียมข้อเสียของผลิตภัณฑ์มาตรฐาน IEEE 802.11a ก็คือมีรัศมีการใช้งาน ในระยะสั้น และมีราคาแพงดังนั้นผลิตภัณฑ์ไร้สายมาตรฐาน IEEE 802.11a จึงได้รับความนิยมน้อย
IEEE 802.11b
เป็นมาตรฐานที่ถูกตีพิมพ์และเผยแพร่ออกมาพร้อมกับมาตรฐาน IEEE 802.11a เมื่อปี พ.ศ. 2542 ซึ่งเป็นที่รู้จักกันดีและได้รับความนิยมในการใช้งานกันอย่าง แพร่หลายมากที่สุด ผลิตภัณฑ์ที่ออกแบบมาให้รองรับมาตรฐาน IEEE 802.11b ใช้เทคโนโลยีที่เรียกว่า CCK (Complimentary Code Keying)ร่วมกับเทคโนโลยี DSSS (Direct Sequence Spread Spectrum) เพื่อให้สามารถรับส่งข้อมูลได้ด้วยอัตราความเร็วสูงสุดที่ 11 เมกะบิตต่อวินาที โดยใช้คลื่นสัญญาณวิทยุ ย่านความถี่ 2.4 กิกะเฮิรตซ์ซึ่งเป็นย่านความถี่ที่อนุญาต ให้ใช้งานในแบบ สาธารณะทางด้านวิทยาศาสตร์ อุตสาหกรรม และการแพทย์ โดยผลิตภัณฑ์ที่ใช้ความถี่ย่านนี้มีชนิด ทั้งผลิตภัณฑ์ที่รองรับเทคโนโลยี Bluetooth, โทรศัพท์ไร้สายและ เตาไมโครเวฟ จึงทำให้การใช้งานนั้นมีปัญหาในเรื่องของสัญญาณรบกวนของผลิตภัณฑ์เหล่านี้ ข้อดีของมาตรฐาน IEEE 802.11b ก็คือ สนับสนุนการใช้งานเป็นบริเวณกว้างกว่ามาตรฐาน IEEE 802.11a ผลิตภัณฑ์มาตรฐาน IEEE 802.11bเป็นที่รู้จักในเครื่องหมายการค้า Wi-Fi ซึ่งกำหนดขึ้นโดย WECA (Wireless Ethernet CompatabilityAlliance) โดยผลิตภัณฑ์ที่ได้รับเครื่องหมาย Wi-Fi ได้ผ่านการตรวจสอบและรับรองว่าเป็นไปตามข้อกำหนดของมาตรฐาน IEEE 802.11b ซึ่งสามารถใช้งานร่วมกัน กับผลิตภัณฑ์ของผู้ผลิตรายอื่นๆ ได้
IEEE 802.11g
เป็นมาตรฐานที่นิยมใช้งานกันมากในปัจจุบันและได้เข้ามาทดแทนผลิตภัณฑ์ที่ รองรับมาตรฐาน IEEE 802.11b เนื่องจากสนับสนุนอัตราความเร็วของการรับส่งข้อมูล ในระดับ 54 เมกะบิตต่อวินาที โดยใช้เทคโนโลยีOFDM บนคลื่นสัญญาณวิทยุ ย่านความถี่ 2.4 กิกะเฮิรตซ์ และให้รัศมีการทำงาน ที่มากกว่า IEEE 802.11aพร้อมความสามารถในการใช้งานร่วมกันกับมาตรฐาน IEEE 802.11b ได้ (Backward-Compatible)
 802.11n
 จะกลายมาเป็นบรรทัดฐานอันใหม่ ที่ช่วยเพิ่มความเร็ว และระยะทางในการรับส่งข้อมูลให้ไกลขึ้นโดยยังใช้งานร่วมกับมาตรฐานเดิม อย่าง 802.11b/g ได้ด้วย ในเบื้องต้น Intel (U.S.) ได้คาดการณ์ว่า อัตราการส่งผ่านข้อมูลสูงสุดในทางทฤษฏีจะมากกว่า 200Mbps ส่วนความเร็วจริงที่ได้รับจะอยู่ที่ประมาณ 100 Mbps ซึ่งเป็นตัวเลขที่เท่ากับค่าสเปก ความเร็วสูงสุดของระบบแลนไร้สายแบบ Fast Ethernet พอดี
          ส่วนในด้านของระยะใช้งานนั้นต้องบอกว่ายังไม่มีความชัดเจนในเรื่องนี้เท่าใดนัก แต่ท่าจะเทียบจากระยะที่ใช้งานได้จริงของ 802.11g ในปัจจุบันแล้ว 802.11n ก็น่าจะดีขึ้นอย่างแน่นอน เพราะว่าระบบรับ-ส่งจะทนทานต่อสัญญาณรบกวนต่างๆได้ดีกว่า

วิชา ฐานข้อมูลเบื้องต้น การบ้านบทที่ 1 ประจำวันที่ 10 พ.ย 2553

1.จงสรุปแนวคิดในการจัดการข้อมูลจากอดีตถึงปัจจุบัน
 = ในการจัดการข้อมูลในอดีตจะมีการจัดการข้อมูลแบบแฟ้มข้อมูลคือจะมีการเก็บรวบรวมข้อมูลที่เป็นข้อมูลหลักไว้และมีข้อมูลสำรองสำหรับแก้ไขเป็นข้อมูลใหม่จากข้อมูลหลัก ระบบแฟ้มข้อมูลของแต่ละหน่วยงานถูกเขียนขึ้นด้วยหลาย ๆ โปรแกรม การใช้งานของแต่ละหน่วยงานก็แตกต่างกัน การป้อนข้อมูลหรือแก้ไขข้อมูลก็ควรป้อนทั้งสองแฟ้มข้อมูลให้เหมือนกันและมีแฟ้มข้อมูลที่เป็นอิสระต่อกันคือเป็นหน่วยงานไหนก็ต้องใช้แฟ้มข้อมูลของตนเองเท่านั้นจนถึงปัจจุบันจึงมีการใช้ระบบจัดการข้อมูลที่เรียกว่า ระบบฐานข้อมูล DBMS (Database System) ที่มีการจัดการข้อมูลที่ง่ายต่อการค้นหาหรือใช้ข้อมูลโดยข้อมูลจะถูกเก็บไว้ในที่เดียวกัน DBMS จะเป็นโปรแกรมที่รู้ว่าจะใช้ข้อมูลอะไรจะไม่ผูกติดโปรแกรมเรียกใช้ไม่ว่าข้อมูลจะต้องใช้โปรแกรมเรียกใช้อะไร DBMS ก็จะสามารถดึงข้อมูลที่เราต้องการจากฐานข้อมูลมาให้ได้ทันทีจึงสะดวกในการใช้งานเรียกใช้ข้อมูลกว่าในอดีตแต่ต้องใช้ต้นทุนสูง
2.โครงสร้างของแฟ้มข้อมูลประกอบด้วยอะไรบ้าง จงอธิบาย
= ประกอบด้วย
1.บิต (bit) ประกอบด้วยเลขฐานสอง ใช้แทนค่าหน่วยที่เล็กที่สุดของข้อมูลคอมพิวเตอร์ โดยหน่วยที่ใช้จะมีค่า 0 และ 1เท่านั้น
2.ไบต์ (byte) คือการนำเอาบิตหลาย ๆ บิตมาเรียงต่อกัน ตัวอย่างเช่น 1 ไบต์มี 8 บิต ก็คือการนำเอาเลข 0 กับ 1 มาเรียงต่อกัน 8 ตัวจนครบ 1 ไบต์ เพื่อให้ได้อักขระหนึ่งตัว เช่น 01000001 เลขฐานสองที่มี 8 บิตเป็นรหัสแทนตัว
3.ฟิลด์ (field) คือการนำเอาอักขระตั้งแต่หนึ่งตัวขึ้นไปมารวมกันเพื่อให้เกิดความหมาย เช่น ฟิลด์ std_name ใช้กับข้อมูลนักศึกษา, ฟิลด์ salary ใช้เก็บข้อมูลเงินเดือน เป็นต้น
4.เรคอร์ด (record) คือกลุ่มของฟิลด์ที่สัมพันธ์กัน กล่าวคือใน 1 เรคอร์ดประกอบด้วยฟิลด์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องเป็นชุด เช่น เรคอร์ดพนักงาน
5.ไฟล์ (file) คือกลุ่มของเรคอร์ดที่สัมพันธ์กัน เช่น แฟ้มประวัตินักศึกษา จะประกอบด้วยเรคอร์ดของนักศึกษาทั้งหมดในมหาวิทยาลัย ดั้งนั้นหนึ่งไฟล์จะต้องมีอย่างน้อยหนึ่งเรคอร์ด เพื่อการใช้งานข้อมูล เป็นต้น
6. Database คือการรวมกันของหลาย files/tables
3.การเก็บข้อมูลแบบแฟ้มข้อมูลมีข้อจำกัดอย่างไร จงอธิบาย
= 1.ข้อมูลมีการเก็บแยกจากกัน (separation and isolation of data) คือข้อมูลแต่ละหน่วยมีการจัดเก็บไม่เหมือนกันและใช้ข้อมูลไม่เหมือนกัจึงมีการเก็บแยกข้อมูลจากกัน
2.ข้อมูลมีความซ้ำซ้อน (duplication of data/redundancy) คือสืบเนื่องมาจากการเก็บข้อมูลแยกจากกัน ทำให้ไม่สามารถควบคุมข้อมูลไม่ให้เกิดความซ้ำซ้อนได้ ที่สำคัญคือการทำให้เสียพื้นที่ในการจัดเก็บข้อมูลเพิ่มขึ้น
ดั้งนั้นจึงทำให้เกิดความผิดพลาดของข้อมูล 3 ลักษณะด้วยกัน คือ
2.1 ข้อผิดพลาดจากการเพิ่มข้อมูล
2.2 ข้อผิดพลาดจากการลบข้อมูล
2.3 ข้อผิดพลาดจากการเปลี่ยนแปลงข้อมูล
3. ข้อมูลมีความขึ้นต่อกัน (Data dependence) คือปัญหาดังกล่าวจะเกิดขึ้นเมื่อมีการปรับเปลี่ยนโครงสร้างของแฟ้มข้อมูล จะส่งผลกระทบกับข้อมูลที่ทำการจัดเก็บอยู่ และส่งผลทำให้ข้อมูลในหน่วยงานอื่น ๆ ที่จัดเก็บไม่ตรงกัน และวิธีการปรับปรุงค่อนข้างจะยุ่งยากมาก
4. ความไม่สอดคล้องกันของข้อมูล (Data Inconsistency) คือความไม่สอดคล้องของข้อมูล คือ การที่ข้อมูลเดียวกันถูกจัดเก็บไว้ในหลาย ๆ แห่ง มีค่าไม่ตรงกัน ซึ่งอาจเกิดจากความผิดพลาดของการป้อนข้อมูล มีรูปแบบไม่ตรงกัน เช่น การป้อนข้อมูลหมายเลขโทรศัพท์ ควรจะเป็น 0-5541-1096 แตกลายเป็น 055-411096 เป็นต้น
5.รายงานต่าง ๆ ถูกกำหนดไว้อย่างจำกัด (fixed queries/proliferation application programs) คือระบบแฟ้มข้อมูลของแต่ละหน่วยงานถูกเขียนด้วยหลาย ๆ โปรแกรม และการใช้งานในแต่ละหน่วยงานก็แตกต่างกัน ดังนั้นในส่วนของการจ้างโปรแกรมเมอร์มาทำการพัฒนาโปรแกรมนั้นก็จะมีส่วนที่จะกำหนดในเรื่องของรายงานที่หน่วยงานต้องการใช้ แต่หากว่าต้อการรายงานอื่น ๆ เพิ่มในอนาคตก็ต้องทำการว่าจ้างโปรแกรมเมอร์มาพัฒนาทำให้เสียค่าใช้จ่ายเพิ่ม ดังนั้นจะเห็นว่าเกิดปัญหาในเรื่องของความต้องการของผู้ใช้งาน
4.ฐานข้อมูลคืออะไร และยกตัวอย่างฐานข้อมูลที่นักศึกษารู้จักมาสองระบบ
= ฐานข้อมูล คือ จะประกอบด้วยรายละเอียดข้อมูลที่มีความเกี่ยวข้องกัน ซึ่งจะถูกใช้งานในด้านต่าง ๆ โดยข้อมูลเหล่านี้จะถูกจัดเก็บไว้ให้เป็นศูนย์กลางอย่างมีระบบซึ่งสามารถใช้งานร่วมกันได้ เพื่อประโยชน์ในการจัดการและการเรียกใช้งานร่วมกันได้ เพื่อประโยชน์ในการจัดการและเรียกใช้ข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ยกตัวอย่างฐานข้อมูลที่รู้จักเช่น 
1.ฐานข้อมูลของนักศึกษาในระบบของมหาวิทยาลัย
2.ฐานข้อมูลของพนักงานในระบบของบริษัทต่าง ๆ
5.ฐานข้อมูลช่วยแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นกับการเก็บข้อมูลในแฟ้มข้อมูลอย่างไร
= ฐานข้อมูลช่วยแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นกับการเก็บข้อมูลในแฟ้มข้อมูลโดยจะรวมข้อมูลที่ต้องใช้งานในด้านต่าง ๆ ของแต่ละหน่วยงานที่มีข้อมูลที่มีความเกี่ยวข้องกันในแฟ้มข้อมูลมาเก็บไว้ให้เป็นศูนย์กลางอย่างมีระบบซึ่งสามารถเรียกใช้งานร่วมกันได้ซึ่งจะทำให้ไม่มีการแยกการใช้ข้อมูลหรือเก็บข้อมูลแบบแฟ้มข้อมูลอีกต่อไป
6.ระบบจัดการฐานข้อมูล (DBMS) คืออะไร มีส่วนสำคัญต่อฐานข้อมูลอย่างไร
= ระบบจัดการฐานข้อมูล (DBMS) คือโปรแกรมที่ทำหน้าที่จัดการข้อมูลในฐานข้อมูลทั้งการสร้าง, การเรียกใช้งาน, การเปลี่ยนแปลงโครงสร้าง และยังควบคุมระบบรักษาความปลอดภัยของฐานข้อมูลอีกด้วย และมีส่วนสำคัญต่อฐานข้อมูลคือจะทำหน้าที่จัดการข้อมูลในฐานข้อมูลทั้งการสร้าง, การเรียกใช้งาน, การเปลี่ยนแปลงโครงสร้าง และยังควบคุมระบบรักษาความปลอดภัยของฐานข้อมูล

7.ยกตัวอย่างฐานข้อมูลกับการดำเนินชีวิตประจำวัน มีการดำเนินชีวิตที่เกี่ยวข้องกับฐานข้อมูลตรงไหน อะไร อย่างไร
= ยกตัวอย่างฐานข้อมูลกับการดำเนินชีวิตประจำวัน เช่น มีการดำเนินชีวิตที่เกี่ยวข้องกับฐานข้อมูลของตนเองที่เป็นนักศึกษาในระบบของมหาวิทยาลัยของตนเองเช่นมีการเรียกใช้ข้อมูลในการดูผลการลงทะเบียน, ผลการเรียนและอื่นในระบบของมหาวิทยาลัยของตนเอง แค่เราใส่รหัสของตนเองในระบบทะเบียนออนไลน์ในระบบของมหาวิทยาลัยโดยจะผ่าน DBMS ที่เป็นโปรแกรมในการจัดการข้อมูลในฐานข้อมูลในการเรียกใช้งานข้อมูลเป็นตัวกลางที่จะเป็นตัวดึงข้อมูลที่เราต้องการเรียกใช้งานจากฐานข้อมูลขึ้นมาแสดงให้เราดูหรือใช้งานได้ทันที