วันอาทิตย์ที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2554

วิชา การจัดระบบเครือข่ายและการสื่อสารข้อมูลธุรกิจด้วยคอมพิวเตอร์ การบ้านบทที่ 5 ประจำวันที่ 5 ม.ค. 25534ตอนเรียน A1 ห้อง BC.1

1. จงยกตัวอย่างอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ในการเชื่อมต่อเครือข่าย
ยกตัวอย่างอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ในการเชื่อมต่อเครือข่าย เช่น


Router
- เป็นอุปกรณ์ที่ใช้เชื่อมต่อ LAN หลายๆ เครือข่ายเข้าด้วยกัน คล้ายกับ
Switch
- Router สามารถใช้ในการเชื่อมต่อระหว่างเครือข่ายที่ใช้โปรโตคอล
เครือข่ายต่างกัน
-Router สามารถทำการกรอง (filter) เลือกเฉพาะชนิดของข้อมูลที่ระบุไว้
ว่าให้ผ่านไปได้ ทำให้ช่วยลดปัญหาการจราจรที่คับคั่งของข้อมูล และ
เพิ่มระดับความปลอดภัยของเครือข่าย
-ทำงานในระดับ Layer ที่ 3 ของ OSI Model
-เราเตอร์สามารถหาเส้นทางการส่งข้อมูลที่เหมาะสมให้โดยอัตโนมัติด้วย
นอกจากนี้เราทเตอร์จะเป็นอุปกรณ์ที่ขึ้นกับโปรโตคอล นั่นคือในการใช้
งานจะต้องเลือกซื้อเราเตอร์ที่สนับสนุนโปรโตคอลของเครือข่ายที่
ต้องการจะเชื่อมต่อเข้าด้วยกัน เราเตอร์อาจเป็นฮาร์ดแวร์เฉพาะหรือ
ซอฟต์แวร์เราเตอร์ก็ได้
-เราเตอร์ไม่เพียงจะใช้เชื่อมระหว่างเครือข่ายระดับ LAN ด้วยกันเท่านั้น
ยังสามารถใช้เชื่อมโยงเครือข่ายระดับ LAN กับเครือข่ายระดับ WAN ได้
อีกด้วย เช่น ใช้เชื่อมโยงเครือข่าย LAN เข้าสู่เครือข่ายอินเตอร์เน็ต
การเชื่อมต่อของ Router








2. จงเปรียบเทียบการทำงานของเกตเวย์ บริดจ์และสวิตซ์

อุปกรณ์เครือข่าย
การทำงาน
Bridge

เป็นอุปกรณ์ที่ออกแบบมาเพื่อใช้ติดต่อระหว่างเครือข่ายท้องถิ่น หรือ LAN 2
เครือข่ายที่มีโปรโตคอลเหมือนกันเป็นเครือข่ายเดียวกัน
􀂇 บริดจ์ทำงานคล้ายกับเครื่องตรวจตำแหน่ง (Address) ของข้อมูล บริดจ์
จะรับข้อมูลมาทั้งแพ็กเกตจาก LAN ต้นทาง แล้วส่งไปยังปลายทางโดยไม่ทำ
การแก้ไขใด ๆ
􀂇 บริดจ์อาจเป็นได้ทั้งฮาร์ดแวร์เฉพาะ หรือซอฟต์แวร์บนเครื่องคอมพิวเตอร์ที่
กำหนดให้เป็นบริดจ์ก็ได้
􀂇 บริดจ์ มักจะถูกใช้ในการเชื่อมเครือข่ายย่อย ๆ ในองค์กรเข้าด้วยกันเป็นเครือข่าย
ใหญ่เพียงเครือข่ายเดียว เพื่อให้เครือข่ายย่อยๆ เหล่านั้นสามารถติดต่อกับ
เครือข่ายย่อยอื่นๆ ได้

Switch
􀂇 นิยมเรียกว่า อีเธอร์เนตสวิตซ์ (Ethernet Switch) จะเป็นบริดจ์แบบหลาย
ช่องทาง (Multiport Bridge) ที่นิยมใช้ในระบบเครือข่ายแลนแบบ
Ethernet เพื่อใช้เชื่อมต่อเครือข่ายหลายๆ เครือข่ายเข้าด้วยกัน สวิตซ์จะ
ช่วยลดการจราจรระหว่างเครือข่ายที่ไม่จำเป็น
􀂇 เนื่องจากการเชื่อมต่อแต่ละช่องทาง กระทำอยู่ภายในตัวสวิตซ์เอง ทำให้
สามารถทำการแลกเปลี่ยนข้อมูลในแต่ละเครือข่าย (Switching) ได้อย่าง
รวดเร็วกว่าการใช้บริดจ์จำนวนหลายๆ ตัวเชื่อมต่อกัน
􀂇 สวิตซ์สามารถใช้เชื่อมเครื่องคอมพิวเตอร์เพียงเครื่องเดียวเข้ากับตัว
สวิตซ์ ซึ่งจะทำให้เครื่องๆ นั้น สามารถติดต่อกับเซิร์ฟเวอร์ด้วยความเร็ว
เต็มความสามารถของช่องทางการสื่อสารข้อมูล
Gateway
􀂇 เป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อีกอย่างหนึ่ง ทำหน้าที่ ช่วยทำให้เครือข่าย
คอมพิวเตอร์ 2 เครือข่ายหรือมากกว่าที่มีลักษณะไม่เหมือนกัน คือมี
ลักษณะการเชื่อมต่อของเครือข่ายต่างกัน และมีโปรโตคอลสำหรับการ
ส่ง-รับข้อมูลต่างกัน สามารถติดต่อกันได้เสมือนเป็นเครือข่ายเดียวกัน
􀂇 สำหรับเครือข่ายขนาดใหญ่ อุปกรณ์ที่ทำหน้าที่เป็น Gateway อาจจะรวม
เอาฟังก์ชั่นการทำงานที่เรียกว่า Firewall ไว้ในตัวด้วย เพื่อทำหน้าที่
ป้องกันไม่ให้คอมพิวเตอร์ที่อยู่นอกเครือข่ายเข้ามาเชื่อต่อลักลอบนำ
ข้อมูลภายในออกไปได้



3. โทโพโลยีมีกี่ประเภท อะไรบ้าง จงอธิบายว่าแต่ละประเภทเหมาะกับ
การใช้งานแบบใด
โทโพโลยี(Topology )มี 3 ประเภท ดังนี้
1.โทโปโลยีแบบบัส (BUS)
               เป็นรูปแบบที่ เครื่องคอมพิวเตอร์จะถูกเชื่อมต่อกันโดยผ่ายสายสัญญาณแกนหลัก ที่เรียกว่า BUS หรือ แบ็คโบน (Backbone) คือ สายรับส่งสัญญาณข้อมูลหลัก ใช้เป็นทางเดินข้อมูลของทุกเครื่องภายในระบบเครือข่าย และจะมีสายแยกย่อยออกไปในแต่ละจุด เพื่อเชื่อมต่อเข้ากับคอมพิวเตอร์เครื่องอื่น ๆ ซึ่งเรียกว่าโหนด (Node) ข้อมูลจากโหนดผู้ส่งจะถูกส่งเข้าสู่สายบัสในรูปของแพ็กเกจ ซึ่งแต่ละแพ็กเกจจะประกอบไปด้วยข้อมูลของผู้ส่ง, ผู้รับ และข้อมูลที่จะส่ง การสื่อสารภายในสายบัสจะเป็นแบบ 2 ทิศทางแยกไปยังปลายทั้ง 2 ด้านของ บัส โดยตรงปลายทั้ง 2 ด้านของบัส จะมีเทอร์มิเนเตอร์ (Terminator) ทำหน้าที่ลบล้างสัญญาณที่ส่งมาถึง เพื่อป้องกันไม่ให้สัญญาณข้อมูลนั้นสะท้อนกลับ เข้ามายังบัสอีก เพื่อเป็นการป้องกันการชนกันของข้อมูลอื่น ๆ ที่เดินทางอยู่บนบัสในขณะนั้น
สัญญาณข้อมูลจากโหนดผู้ส่งเมื่อเข้าสู่บัส ข้อมูลจะไหลผ่านไปยังปลายทั้ง 2 ด้านของบัส แต่ละโหนดที่เชื่อมต่อเข้ากับบัส จะคอยตรวจดูว่า ตำแหน่งปลายทางที่มากับแพ็กเกจข้อมูลนั้นตรงกับตำแหน่งของตนหรือไม่ ถ้าตรง ก็จะรับข้อมูลนั้นเข้ามาสู่โหนด ตน แต่ถ้าไม่ใช่ ก็จะปล่อยให้สัญญาณข้อมูลนั้นผ่านไป จะเห็นว่าทุก ๆ โหนดภายในเครือข่ายแบบ BUS นั้นสามารถรับรู้สัญญาณข้อมูลได้ แต่จะมีเพียงโหนดปลายทางเพียงโหนดเดียวเท่านั้นที่จะรับข้อมูลนั้นไปได้
-เหมาะกับการรับส่งข้อมูลแบบไม่ต่อเนื่องและข้อมูลมีจำนวนไม่มากนัก

2.โทโปโลยีแบบวงแหวน (RING)
             เป็นรูปแบบที่ เครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องในระบบเครือข่าย ทั้งเครื่องที่เป็นผู้ให้บริการ( Server) และ เครื่องที่เป็นผู้ขอใช้บริการ(Client) ทุกเครื่องถูกเชื่อมต่อกันเป็นวงกลม ข้อมูลข่าวสารที่ส่งระหว่างกัน จะไหลวนอยู่ในเครือข่ายไปใน ทิศทางเดียวกัน โดยไม่มีจุดปลายหรือเทอร์มิเนเตอร์เช่นเดียวกับเครือข่ายแบบ BUS ในแต่ละโหนดหรือแต่ละเครื่อง จะมีรีพีตเตอร์ (Repeater) ประจำแต่ละเครื่อง 1 ตัว ซึ่งจะทำหน้าที่เพิ่มเติมข้อมูลที่จำเป็นต่อการติดต่อสื่อสารเข้าในส่วนหัวของแพ็กเกจที่ส่ง และตรวจสอบข้อมูลจากส่วนหัวของ Packet ที่ส่งมาถึง ว่าเป็นข้อมูลของตนหรือไม่ แต่ถ้าไม่ใช่ก็จะปล่อยข้อมูลนั้นไปยัง Repeater ของเครื่องถัดไป

-เหมาะกับงานที่มีการรับส่งข้อมูลมาก ๆ และ
ต่อเนื่องตลอดเวลา



3.โทโปโลยีแบบดาว (STAR)
            เป็นรูปแบบที่ เครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องที่เชื่อมต่อเข้าด้วยกันในเครือข่าย จะต้องเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ตัวกลางตัวหนึ่งที่เรียกว่า ฮับ (HUB) หรือเครื่อง ๆ หนึ่ง ซึ่งทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางของการเชื่อมต่อสายสัญญาญที่มาจากเครื่องต่าง ๆ ในเครือข่าย และควบคุมเส้นทางการสื่อสาร ทั้งหมด เมื่อมีเครื่องที่ต้องการส่งข้อมูลไปยังเครื่องอื่น ๆ ที่ต้องการในเครือข่าย เครื่องนั้นก็จะต้องส่งข้อมูลมายัง HUB หรือเครื่องศูนย์กลางก่อน แล้ว HUB ก็จะทำหน้าที่กระจายข้อมูลนั้นไปในเครือข่ายต่อไป
-เหมาะกับการรับส่งข้อมูลแบบไม่ต่อเนื่อง
และข้อมูลมีจำนวนไม่มากนัก
4. รีพีตเตอร์หรือฮับทำงานอยู่บน layer ใดของ OSI Model
= รีพีตเตอร์หรือฮับเป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ขยายสัญญาณที่ได้รับมาส่งต่อให้กับอุปกรณ์อื่น
ที่ต่อเข้ากับมัน จัดเป็นอุปกรณ์ที่มีการทำงานอยู่ใน Layer ที่ 1 ของ OSI
Model