1.จงสรุปแนวคิดในการจัดการข้อมูลจากอดีตถึงปัจจุบัน
= ในการจัดการข้อมูลในอดีตจะมีการจัดการข้อมูลแบบแฟ้มข้อมูลคือจะมีการเก็บรวบรวมข้อมูลที่เป็นข้อมูลหลักไว้และมีข้อมูลสำรองสำหรับแก้ไขเป็นข้อมูลใหม่จากข้อมูลหลัก ระบบแฟ้มข้อมูลของแต่ละหน่วยงานถูกเขียนขึ้นด้วยหลาย ๆ โปรแกรม การใช้งานของแต่ละหน่วยงานก็แตกต่างกัน การป้อนข้อมูลหรือแก้ไขข้อมูลก็ควรป้อนทั้งสองแฟ้มข้อมูลให้เหมือนกันและมีแฟ้มข้อมูลที่เป็นอิสระต่อกันคือเป็นหน่วยงานไหนก็ต้องใช้แฟ้มข้อมูลของตนเองเท่านั้นจนถึงปัจจุบันจึงมีการใช้ระบบจัดการข้อมูลที่เรียกว่า ระบบฐานข้อมูล DBMS (Database System) ที่มีการจัดการข้อมูลที่ง่ายต่อการค้นหาหรือใช้ข้อมูลโดยข้อมูลจะถูกเก็บไว้ในที่เดียวกัน DBMS จะเป็นโปรแกรมที่รู้ว่าจะใช้ข้อมูลอะไรจะไม่ผูกติดโปรแกรมเรียกใช้ไม่ว่าข้อมูลจะต้องใช้โปรแกรมเรียกใช้อะไร DBMS ก็จะสามารถดึงข้อมูลที่เราต้องการจากฐานข้อมูลมาให้ได้ทันทีจึงสะดวกในการใช้งานเรียกใช้ข้อมูลกว่าในอดีตแต่ต้องใช้ต้นทุนสูง
2.โครงสร้างของแฟ้มข้อมูลประกอบด้วยอะไรบ้าง จงอธิบาย
= ประกอบด้วย
1.บิต (bit) ประกอบด้วยเลขฐานสอง ใช้แทนค่าหน่วยที่เล็กที่สุดของข้อมูลคอมพิวเตอร์ โดยหน่วยที่ใช้จะมีค่า 0 และ 1เท่านั้น
2.ไบต์ (byte) คือการนำเอาบิตหลาย ๆ บิตมาเรียงต่อกัน ตัวอย่างเช่น 1 ไบต์มี 8 บิต ก็คือการนำเอาเลข 0 กับ 1 มาเรียงต่อกัน 8 ตัวจนครบ 1 ไบต์ เพื่อให้ได้อักขระหนึ่งตัว เช่น 01000001 เลขฐานสองที่มี 8 บิตเป็นรหัสแทนตัว
3.ฟิลด์ (field) คือการนำเอาอักขระตั้งแต่หนึ่งตัวขึ้นไปมารวมกันเพื่อให้เกิดความหมาย เช่น ฟิลด์ std_name ใช้กับข้อมูลนักศึกษา, ฟิลด์ salary ใช้เก็บข้อมูลเงินเดือน เป็นต้น
4.เรคอร์ด (record) คือกลุ่มของฟิลด์ที่สัมพันธ์กัน กล่าวคือใน 1 เรคอร์ดประกอบด้วยฟิลด์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องเป็นชุด เช่น เรคอร์ดพนักงาน
5.ไฟล์ (file) คือกลุ่มของเรคอร์ดที่สัมพันธ์กัน เช่น แฟ้มประวัตินักศึกษา จะประกอบด้วยเรคอร์ดของนักศึกษาทั้งหมดในมหาวิทยาลัย ดั้งนั้นหนึ่งไฟล์จะต้องมีอย่างน้อยหนึ่งเรคอร์ด เพื่อการใช้งานข้อมูล เป็นต้น
6. Database คือการรวมกันของหลาย files/tables
3.การเก็บข้อมูลแบบแฟ้มข้อมูลมีข้อจำกัดอย่างไร จงอธิบาย
= 1.ข้อมูลมีการเก็บแยกจากกัน (separation and isolation of data) คือข้อมูลแต่ละหน่วยมีการจัดเก็บไม่เหมือนกันและใช้ข้อมูลไม่เหมือนกัจึงมีการเก็บแยกข้อมูลจากกัน
2.ข้อมูลมีความซ้ำซ้อน (duplication of data/redundancy) คือสืบเนื่องมาจากการเก็บข้อมูลแยกจากกัน ทำให้ไม่สามารถควบคุมข้อมูลไม่ให้เกิดความซ้ำซ้อนได้ ที่สำคัญคือการทำให้เสียพื้นที่ในการจัดเก็บข้อมูลเพิ่มขึ้น
ดั้งนั้นจึงทำให้เกิดความผิดพลาดของข้อมูล 3 ลักษณะด้วยกัน คือ
2.1 ข้อผิดพลาดจากการเพิ่มข้อมูล
2.2 ข้อผิดพลาดจากการลบข้อมูล
2.3 ข้อผิดพลาดจากการเปลี่ยนแปลงข้อมูล
3. ข้อมูลมีความขึ้นต่อกัน (Data dependence) คือปัญหาดังกล่าวจะเกิดขึ้นเมื่อมีการปรับเปลี่ยนโครงสร้างของแฟ้มข้อมูล จะส่งผลกระทบกับข้อมูลที่ทำการจัดเก็บอยู่ และส่งผลทำให้ข้อมูลในหน่วยงานอื่น ๆ ที่จัดเก็บไม่ตรงกัน และวิธีการปรับปรุงค่อนข้างจะยุ่งยากมาก
4. ความไม่สอดคล้องกันของข้อมูล (Data Inconsistency) คือความไม่สอดคล้องของข้อมูล คือ การที่ข้อมูลเดียวกันถูกจัดเก็บไว้ในหลาย ๆ แห่ง มีค่าไม่ตรงกัน ซึ่งอาจเกิดจากความผิดพลาดของการป้อนข้อมูล มีรูปแบบไม่ตรงกัน เช่น การป้อนข้อมูลหมายเลขโทรศัพท์ ควรจะเป็น 0-5541-1096 แตกลายเป็น 055-411096 เป็นต้น
5.รายงานต่าง ๆ ถูกกำหนดไว้อย่างจำกัด (fixed queries/proliferation application programs) คือระบบแฟ้มข้อมูลของแต่ละหน่วยงานถูกเขียนด้วยหลาย ๆ โปรแกรม และการใช้งานในแต่ละหน่วยงานก็แตกต่างกัน ดังนั้นในส่วนของการจ้างโปรแกรมเมอร์มาทำการพัฒนาโปรแกรมนั้นก็จะมีส่วนที่จะกำหนดในเรื่องของรายงานที่หน่วยงานต้องการใช้ แต่หากว่าต้อการรายงานอื่น ๆ เพิ่มในอนาคตก็ต้องทำการว่าจ้างโปรแกรมเมอร์มาพัฒนาทำให้เสียค่าใช้จ่ายเพิ่ม ดังนั้นจะเห็นว่าเกิดปัญหาในเรื่องของความต้องการของผู้ใช้งาน
4.ฐานข้อมูลคืออะไร และยกตัวอย่างฐานข้อมูลที่นักศึกษารู้จักมาสองระบบ
= ฐานข้อมูล คือ จะประกอบด้วยรายละเอียดข้อมูลที่มีความเกี่ยวข้องกัน ซึ่งจะถูกใช้งานในด้านต่าง ๆ โดยข้อมูลเหล่านี้จะถูกจัดเก็บไว้ให้เป็นศูนย์กลางอย่างมีระบบซึ่งสามารถใช้งานร่วมกันได้ เพื่อประโยชน์ในการจัดการและการเรียกใช้งานร่วมกันได้ เพื่อประโยชน์ในการจัดการและเรียกใช้ข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ยกตัวอย่างฐานข้อมูลที่รู้จักเช่น
1.ฐานข้อมูลของนักศึกษาในระบบของมหาวิทยาลัย
2.ฐานข้อมูลของพนักงานในระบบของบริษัทต่าง ๆ
5.ฐานข้อมูลช่วยแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นกับการเก็บข้อมูลในแฟ้มข้อมูลอย่างไร
= ฐานข้อมูลช่วยแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นกับการเก็บข้อมูลในแฟ้มข้อมูลโดยจะรวมข้อมูลที่ต้องใช้งานในด้านต่าง ๆ ของแต่ละหน่วยงานที่มีข้อมูลที่มีความเกี่ยวข้องกันในแฟ้มข้อมูลมาเก็บไว้ให้เป็นศูนย์กลางอย่างมีระบบซึ่งสามารถเรียกใช้งานร่วมกันได้ซึ่งจะทำให้ไม่มีการแยกการใช้ข้อมูลหรือเก็บข้อมูลแบบแฟ้มข้อมูลอีกต่อไป
6.ระบบจัดการฐานข้อมูล (DBMS) คืออะไร มีส่วนสำคัญต่อฐานข้อมูลอย่างไร
= ระบบจัดการฐานข้อมูล (DBMS) คือโปรแกรมที่ทำหน้าที่จัดการข้อมูลในฐานข้อมูลทั้งการสร้าง, การเรียกใช้งาน, การเปลี่ยนแปลงโครงสร้าง และยังควบคุมระบบรักษาความปลอดภัยของฐานข้อมูลอีกด้วย และมีส่วนสำคัญต่อฐานข้อมูลคือจะทำหน้าที่จัดการข้อมูลในฐานข้อมูลทั้งการสร้าง, การเรียกใช้งาน, การเปลี่ยนแปลงโครงสร้าง และยังควบคุมระบบรักษาความปลอดภัยของฐานข้อมูล
7.ยกตัวอย่างฐานข้อมูลกับการดำเนินชีวิตประจำวัน มีการดำเนินชีวิตที่เกี่ยวข้องกับฐานข้อมูลตรงไหน อะไร อย่างไร
= ยกตัวอย่างฐานข้อมูลกับการดำเนินชีวิตประจำวัน เช่น มีการดำเนินชีวิตที่เกี่ยวข้องกับฐานข้อมูลของตนเองที่เป็นนักศึกษาในระบบของมหาวิทยาลัยของตนเองเช่นมีการเรียกใช้ข้อมูลในการดูผลการลงทะเบียน, ผลการเรียนและอื่นในระบบของมหาวิทยาลัยของตนเอง แค่เราใส่รหัสของตนเองในระบบทะเบียนออนไลน์ในระบบของมหาวิทยาลัยโดยจะผ่าน DBMS ที่เป็นโปรแกรมในการจัดการข้อมูลในฐานข้อมูลในการเรียกใช้งานข้อมูลเป็นตัวกลางที่จะเป็นตัวดึงข้อมูลที่เราต้องการเรียกใช้งานจากฐานข้อมูลขึ้นมาแสดงให้เราดูหรือใช้งานได้ทันที
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น